วันเสาร์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2557

Malee Sampran


บริษัท แซคตาลอย จำกัด



บริษัท แซคตาลอย จำกัด เดิมจดทะเบียนก่อตั้งเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2530 เพื่อประกอบกิจการโรงงานผลิตนมถั่วเหลือง  และนมธัญพืชพร้อมดื่ม ภายใต้ชื่อ "ผลิตภัณฑ์ แซคตาลอย  (Sactaloy)" โดยเริ่มจากเป็นอุตสาหกรรมขนาดเล็กที่ หมู่บ้านสหกรณ์คลองกุ่ม กรุงเทพฯ สินค้าตัวแรกที่ทางบริษัททำการผลิต คือ นมถั่วเหลือง มี 4 รส คือ รสชา รสงาดำ รสช็อคโกแลค และรสธรรมชาติ ทั้งได้ทำการทดลองวางตลาดโดยวางจำหน่ายใน ซุปเปอร์มาร์เก็ตบนถนนสุขุมวิท และเพชรบุรีตัดใหม่ ภายในเวลาเพียง 3 เดือน ก็ได้รับความนิยม เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในหมู่ชาวต่างชาติ โดยมี บริษัทโปรมาร์ท อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด
วัตถุประสงค์องค์กร
             เพื่อผลิต ผลิตภัณฑ์นมถั่วเหลืองและนมธัญพืชพร้อมดื่ม รูปแบบโฮมเมดที่มีคุณภาพ และความหลากหลาย และเพื่อยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์นมถั่วเหลืองและนมธัญพืชพร้อมดื่ม
วิสัยทัศน์
             “บริษัท แซคตาลอย จำกัด มุ่งมั่นเป็นกลุ่มธุรกิจทางด้านการผลิต ที่ริเริ่มในสิ่งใหม่ และกระทำทุกวิถีทางเพื่อเป็นกลุ่มธุรกิจทางการค้าที่ให้บริการอย่างดีที่สุดแก่ลูกค้า”
พันธกิจ
      1.  มุ่งพัฒนากระบวนการผลิตและจัดจำหน่ายด้วยวิทยาการและเทคโนโลยีที่ทันสมัย
      2.  มุ่งตอบสนองความต้องการของลูกค้าด้วยการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ออกสู่ตลาด
      3.  มุ่งพัฒนาพนักงานทุกระดับให้มีประสิทธิภาพ โดยการส่งเสริมและแบ่งปันการเรียนรู้ทั่วทั้งองค์กร
      4.  ปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้แก่ ผู้ถือหุ้น พนักงาน ลูกค้า ผู้ส่งมอบและชุมชนอย่างเป็นธรรม
      5.  รับผิดชอบต่อสังคมด้วยการลดการสร้างมลภาวะที่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม และสนับสนุนชุมชน
ค่านิยมองค์กร
·       ยึดถือแนวปฏิบัติ C-P-R-A-M 5 ประการ ได้แก่
1.  C-Creative คิดสร้างสรรค์
2.  P-Productive หมั่นสร้างผลงาน
3.  R-Relationship สานมนุษย์สัมพันธ์
4.  M-Moral มีคุณธรรม 
5.  A-Attitude ทัศนคติที่ดี
6.  วัฒนธรรมองค์กร “การทำงานเป็นทีม” และ “การบริหารจัดการอย่างคล่องตัว”




----------------------------------------------------------------------------------------------------

แผนกขาย
·       หน้าที่ของแผนกขาย
                มีหน้าที่ในการบริการจำหน่ายสินค้าให้กับลูกค้า  โดยแผนกขายจะมีการเก็บข้อมูลของลูกค้าที่มาสั่งซื้อ และข้อมูลการสั่งซื้อ
ปัญหาของแผนกขาย
      ปัญหาที่พนักงานขายพบบ่อย
     1.  ไม่มีเครื่องมือสำหรับช่วยงานทางด้านการขาย
     2.  ไม่รู้ว่าลูกค้าที่ติดต่อเข้ามามีพนักงานขายท่านใดเป็นผู้รับผิดชอบ
     3.   เสียเวลาในการค้นหาข้อมูลเดิมของลูกค้า
     4.   ไม่รู้ราคาสินค้าและส่วนลดที่จะขายให้กับลูกค้าแต่ละราย
     5.  ไม่มีข้อมูลการติดต่อครั้งล่าสุดของลูกค้าแต่ละราย
     6.   ลืมนัดลูกค้า ไม่ว่าจะเป็นการเข้าพบ การส่งเอกสาร หรือการติดต่อต่างๆ
     7.  ไม่รู้ว่ามีใครเป็นคู่ค้า (Partner) ที่จะช่วยให้ปิดการขายได้ง่ายขึ้น
     8.   ไม่รู้ว่ามีใครเป็นคู่แข่ง (Competitor) ทำให้เสียเปรียบในการแข่งขัน
     9.   เสียเวลาในการจัดทำเอกสารต่างๆ เช่น ใบเสนอราคา, ใบสั่งขาย
     10. ข้อมูลลูกค้าซ้ำซ้อน, ไม่รู้ว่าข้อมูลใดเป็นข้อมูลล่าสุด
แผนกบัญชี
·       หน้าที่ของแผนกบัญชี
                มีหน้าที่ในการจัดเก็บเงินค่าสินค้าและจัดทำบัญชีของบริษัทพร้อมทั้งทำรายงานงบการเงินเสนอผู้บริหาร โดยรับข้อมูลการสั่งซื้อจากแผนกขาย
ปัญหาของแผนกบัญชี
1.  เอกสารมีจำนวนมาก  และจัดเก็บไม่เป็นระเบียบ 
2.  เปลืองพื้นที่ในการจัดเก็บแฟ้มเอกสาร เพราะเอกสารทุกชนิดจะจัดเก็บภายในแฟ้ม
3.  ค้นหาเอกสารได้ยาก  เนื่องจากเอกสารมีจำนวนมากและยังจัดเก็บไม่เป็นระบบ
4.  เอกสารสูญหาย  เพราะเอกสารมีจำนวนมาก และเอกสารส่วนใหญ่เป็นเอกสารที่เกี่ยวกับการเงิน หากสูญหายอาจทำให้บริษัทได้รับความเสียหายอย่างมาก
5.   การตรวจสอบเกี่ยวกับข้อมูลทางการเงินทำได้ช้า ไม่สะดวกรวดเร็ว
6.   ข้อมูลอาจเกิดการผิดพลาดได้ถ้าเอกสารไม่ถูกต้องหรือเอกสารสูญหาย
7.  รายงานทางการเงินที่ทำโดยมือจะทำให้เข้าใจได้ยาก เนื่องจากลายมือหรือรูปแบบของรายงานเพราะจะมีความหลากหลายและมีความแตกต่างกันไป
แผนกคลังสินค้า
·       หน้าที่ของแผนกคลังสินค้า
                    มีหน้าที่ในการตรวจสอบสินค้าและรับข้อมูลการสั่งซื้อสินค้า จากแผนกขายสินค้าเพื่อส่งไปยังแผนกจัดส่งสินค้า
ปัญหาของแผนกคลังสินค้า
1.   เอกสารข้อมูลสินค้ามีจำนวนมาก เนื่องจากสินค้ามีหลายชนิดและหลายขนาด ทำให้การจัดเก็บเอกสารไม่เป็นระเบียบ
2.  เปลืองพื้นที่ในการจัดเก็บแฟ้มเอกสาร เพราะเอกสารทุกชนิดจะจัดเก็บภายในแฟ้ม
3.   ค้นหาเอกสารข้อมูลสินค้าได้ยาก เนื่องจากเอกสารมีจำนวนมากและยังจัดเก็บไม่เป็นระบบ
4.    ในการเช็คสต็อกอาจเกิดความผิดพลาดขึ้น เนื่องจากสินค้าจัดเก็บอยู่หลายที่ทำให้อาจลืมเช็คได้
5.    ข้อมูลสินค้าสูญหายทำให้จำนวนสินค้าภายในคลังสินค้าอาจไม่พอหรือว่ามีจำนวนสินค้ามากเกินไป เนื่องจากไม่สามารถเช็คได้ว่าในคลังสินค้ามีจำนวนสินค้าอยู่เท่าไร
แผนกจัดส่งสินค้า
·       หน้าที่ของแผนกจัดส่งสินค้า
                มีหน้าที่ในการจัดส่งสินค้าไปให้ลูกค้าหรือผู้บริโภค  โดยรับสินค้าจากแผนกคลังสินค้า
ปัญหาของแผนกจัดส่งสินค้า
1.  เอกสารข้อมูลสินค้ามีจำนวนมาก  เนื่องจากสินค้ามีหลายชนิดและหลายขนาด  ทำให้การจัดเก็บเอกสารไม่เป็นระเบียบ
2.  เปลืองพื้นที่ในการจัดเก็บแฟ้มเอกสาร  เพราะเอกสารทุกชนิดจะจัดเก็บภายในแฟ้ม
ค้นหาเอกสารข้อมูลสินค้าได้ยาก  เนื่องจากเอกสารมีจำนวนมากและยังจัดเก็บไม่เป็นระบบ
3.  ถ้าข้อมูลสูญหายจะทำให้ไม่สามารถไปจัดส่งสินค้าให้กับลูกค้าได้     อาจทำให้ลูกค้าไม่พอใจ
4.  ระยะเวลาในการจัดส่งสินค้าให้ลูกค้าอาจใช้เวลานานเนื่องจากต้องมีการค้นหาข้อมูลลูกค้าก่อน
5.  ข้อมูลมีความแตกต่าง  เช่น  ลูกค้ามีที่อยู่หลายที่ทำให้ไม่สามารถทราบได้ว่าจะจัดส่งสินค้าให้ที่ไหน
ปัญหาระหว่างแผนกขายกับแผนกบัญชี
1.  ในกรณีที่แผนกขายทำเอกสารในการสั่งซื้อสูญหาย แผนกบัญชีจะไม่ทราบยอดการสั่งซื้อ
2.  ในกรณีที่แผนกขายทำเอกสารใบชำระเงิน  ของลูกค้าสูญหายแผนกบัญชีก็จะไม่ทราบว่าลูกค้าจ่ายเงินหรือยัง
3.  ในกรณีที่แผนกขายได้ขายสินค้าไปโดยไม่ได้แจ้งให้แผนกบัญชีทราบจะทำให้ยอดขายกับยอดการเงินไม่เท่ากัน
ปัญหาระหว่างแผนกขายกับแผนกคลังสินค้า
1.  ถ้าแผนกคลังสินค้าไม่ทราบยอดสินค้า ทำให้เมื่อแผนกขายจะขายสินค้าก็จะไม่ทราบว่าสินค้ามีจำนวนเพียงพอกับการขายหรือไม่
2.  ในกรณีที่แผนกขายไม่ได้ส่งยอดการสั่งซื้อและการสั่งจองในบางกรณีของลูกค้าให้แผนกคลังสินค้าทราบ  ทำให้แผนกคลังสินค้าไม่ทราบว่าจะต้องมีการสั่งซื้อสินค้ามาเพิ่มหรือไม่  เพื่อให้เพียงพอสำหรับการขาย
ปัญหาระหว่างแผนกขายกับแผนกจัดส่งสินค้า
                ถ้าแผนกขายทำเอกสารการสั่งซื้อสินค้าของลูกค้าหายจะทำให้แผนกจัดส่งสินค้าไม่ทราบว่าจะส่งสินค้าให้กับลูกค้าไม่ได้
ปัญหาระหว่างแผนกบัญชีกับแผนกคลังสินค้า
                ถ้าแผนกคลังสินค้าไม่ได้แจ้งยอดการคลังสินค้าให้แผนกบัญชีทราบ  แผนกบัญชีก็ไม่สามารถทำงบการเงินได้  เพราะจะต้องทราบยอดสินค้าคงเหลือของแต่ละงวด
ปัญหาระหว่างแผนกบัญชีกับแผนกจัดส่งสินค้า
                ถ้าแผนกจัดส่งสินค้าไม่ส่งสินค้าให้กับลูกค้า  แล้วไม่แจ้งการชำระเงินของลูกค้าให้แผนกบัญชีทราบ แผนกบัญชีก็จะไม่ทราบว่าลูกค้าชำระเงินแล้ว
ปัญหาระหว่างแผนกคลังสินค้ากับแผนกจัดส่งสินค้า
                ถ้าแผนกคลังสินค้าไม่ทราบยอดสินค้า  ว่ามีพอสำหรับการจัดส่งสินค้าหรือไม่  แผนกจัดส่งสินค้าก็อาจจะไม่มีสินค้าไปจัดส่งให้กับลูกค้า
ลักษณะของสถานประกอบการหรือแหล่งรายรับ-รายจ่าย
·       รายรับที่ทางบริษัทได้รับคือ ได้จากการขายสินค้าและการสมัครสมาชิกของลูกค้า


·       รายจ่ายเกิดจากการสั่งซื้อสินค้า วัตถุดิบในการผลิตและวัสดุอุปกรณ์สำนักงานต่าง ๆ ของบริษัท


ตารางแสดงรายการการทำงาน(Functions)หรือกิจกรรมทั้งหมดของบริษัท



แสดงการจำแนกกิจกรรม (Activates)  ของหน้าที่ของการทำงาน (Functions) ในบริษัท





บทความที่ได้รับความนิยม

คลังบทความของบล็อก